ทุกวันนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับสิวอยู่อีกมาก
บ้างก็ว่าสิวเกิดจากอาหารบางประเภทที่เรารับประทาน
บ้างก็ว่าสิวเกิดจากความเครียด ลองทายดูสิว่า
ความเชื่อต่างๆเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ถูกหรือผิด
ความเครียดและการเข้านอนดึกทำให้เป็นสิวมากขึ้น.................. (√)
ความเครียดส่งผลต่อระบบของร่างกาย เช่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดสิว
แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นการออกไปตากแดดทำให้เป็นสิวน้อยลง.......................( X)
สิวเกิดที่บริเวณรูขุมขนซึ่งอยู่ภายในชั้นผิวหนัง ดังนั้นการออกไปตากแดด
ไม่ได้ช่วยให้สิวหายหรือทำให้เป็นสิวลดลง
มิหนำซ้ำยังทำให้แก้ฝ้าและจุดด่างดำได้อีกด้วย
การล้างหน้าบ่อยๆ เป็นการป้องกันการเกิดสิว......................( X)
การล้างหน้าหรือทำความสะอาดผิวหน้าบ่อยๆ
ไม่ได้เป็นการป้องกันการเกิดสิวหรือทำให้เป็นสิวน้อยลง
ตรงกันข้ามการล้างหน้าบ่อยๆ
จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวและอาจทำให้เป็นสิวมากขึ้น
เมื่อเป็นสิวไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เมื่ออายุมากขึ้นสิวก็จะค่อยๆหายไปเอง....................( X)
สิวสามารถรักษาให้หายได้ ปัจจุบันนี้มีวิธีรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพมากมาย
ดังนั้นเมื่อเป็นสิวควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง
เพื่อรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นที่รักษายากกว่าการรักษาสิว
การกดหรือบีบสิวจะทำให้สิวหายเร็วขึ้น ........................(X)
การบีบหรือกดสิวจะทำให้ตุ่มหนองแตกออกและมีการแพร่กระจายของหนองและเชื้อ
แบคทีเรียไปยังบริเวณข้างเคียง
ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้นและอาจทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็นได้
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
รู้ทัน....ป้องกันมะเร็ง
"มะเร็งตับ" เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย ส่วนมะเร็งลำไส้ คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ
"มะเร็งตับ" เป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน
โอกาสรอดชีวิตของ "มะเร็งตับ" มีเพียง 10-20% ขณะที่อัตราการเสียชีวิตมีสูงถึง 80-90%
"มะเร็งลำไส้" มักตรวจพบ เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว เนื่องจากมะเร็งในระยะต้น มักไม่มีอาการที่ชัดเจน
"มะเร็งลำไส้"สามารถตรวจพบก่อนการเป็นมะเร็ง ด้วยการส่องกล้อง เท่านั้น
เรามาทำความรู้จักมะเร็งร้าย 2 ชนิดนี้กันดีกว่า
จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งตับ?
ผู้ป่วยส่วนใหญ่แทบไม่มีอาการอะไรเลย ดังนั้นเมื่อมีอาการที่ชัดเจนมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามหรือมีขนาดใหญ่และไม่ สามารถจะรักษาได้แล้ว อาการของผู้ป่วยมะเร็งตับที่ชัดเจนก็คือ
• รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
• เบื่ออาหาร จุกเสียด แน่นท้อง
• ปวดชายโครงด้านขวา โดยอาจร้าวไปที่ไหล่ด้านขวาหรือลำตัวซีกขวาและอาจคลำพบก้อนที่ชายโครง
• ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
การตรวจหามะเร็งตับทำได้อย่างไร?
• การตรวจหาระดับของสารอัลฟาฟิโตโปรตีน (Alfafeto-protein) ซึ่งเป็นสารที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ
• การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้
• การตรวจโดยใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า C T Scan ซึ่งจะสามารถเห็นมะเร็งที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซ.ม.ได้
จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งลำไส้
• ปวดท้อง, ท้องเสีย, ท้องผูก บางครั้งอาจมีอาการทั้ง 3 อย่างสลับกัน
• เลือดออกในเนื้องอกก่อให้เกิดเลือดออกในอุจจาระ ซึ่งหากเป็นสีแดงแสดงว่ามีเนื้องอกที่บริเวณช่องทวารหนัก และหากเป็นสีดำ แสดงว่ามีเนื้องอกอยู่ภายในลำไส้
• บางครั้งอาจรู้สึกแน่นท้อง ปวดท้อง เป็นไข้ น้ำหนักลด ไม่อยากอาหาร
การตรวจหามะเร็งลำไส้ทำได้อย่างไร?
• การตรวจเลือดที่แฝงในอุจจาระ (แต่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่แม่นยำ)
• การตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็ง CEA , CA 19-9 และ CA 125
• การตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
• การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร
• การตรวจเนื้อเยื่อ
สำหรับหลายๆ ท่าน ที่รู้สึกว่าอาการผิดปกติของตนเองนั้น ยังไม่มาก สามารถทนได้ หรืออาการทุเลาลงเมื่อรับประทานยา อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญของการพบแพทย์ในทันที ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายคนพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ที่จะค้นพบสาเหตุของโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน เนื่องจากอาการได้ลุกลามไปแล้ว จนถึงขั้นไม่อาจรักษาได้ก็มี......อย่างลืมดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก....
"มะเร็งตับ" เป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน
โอกาสรอดชีวิตของ "มะเร็งตับ" มีเพียง 10-20% ขณะที่อัตราการเสียชีวิตมีสูงถึง 80-90%
"มะเร็งลำไส้" มักตรวจพบ เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว เนื่องจากมะเร็งในระยะต้น มักไม่มีอาการที่ชัดเจน
"มะเร็งลำไส้"สามารถตรวจพบก่อนการเป็นมะเร็ง ด้วยการส่องกล้อง เท่านั้น
เรามาทำความรู้จักมะเร็งร้าย 2 ชนิดนี้กันดีกว่า
จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งตับ?
ผู้ป่วยส่วนใหญ่แทบไม่มีอาการอะไรเลย ดังนั้นเมื่อมีอาการที่ชัดเจนมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามหรือมีขนาดใหญ่และไม่ สามารถจะรักษาได้แล้ว อาการของผู้ป่วยมะเร็งตับที่ชัดเจนก็คือ
• รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
• เบื่ออาหาร จุกเสียด แน่นท้อง
• ปวดชายโครงด้านขวา โดยอาจร้าวไปที่ไหล่ด้านขวาหรือลำตัวซีกขวาและอาจคลำพบก้อนที่ชายโครง
• ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
การตรวจหามะเร็งตับทำได้อย่างไร?
• การตรวจหาระดับของสารอัลฟาฟิโตโปรตีน (Alfafeto-protein) ซึ่งเป็นสารที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ
• การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้
• การตรวจโดยใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า C T Scan ซึ่งจะสามารถเห็นมะเร็งที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซ.ม.ได้
จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งลำไส้
• ปวดท้อง, ท้องเสีย, ท้องผูก บางครั้งอาจมีอาการทั้ง 3 อย่างสลับกัน
• เลือดออกในเนื้องอกก่อให้เกิดเลือดออกในอุจจาระ ซึ่งหากเป็นสีแดงแสดงว่ามีเนื้องอกที่บริเวณช่องทวารหนัก และหากเป็นสีดำ แสดงว่ามีเนื้องอกอยู่ภายในลำไส้
• บางครั้งอาจรู้สึกแน่นท้อง ปวดท้อง เป็นไข้ น้ำหนักลด ไม่อยากอาหาร
การตรวจหามะเร็งลำไส้ทำได้อย่างไร?
• การตรวจเลือดที่แฝงในอุจจาระ (แต่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่แม่นยำ)
• การตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็ง CEA , CA 19-9 และ CA 125
• การตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
• การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร
• การตรวจเนื้อเยื่อ
สำหรับหลายๆ ท่าน ที่รู้สึกว่าอาการผิดปกติของตนเองนั้น ยังไม่มาก สามารถทนได้ หรืออาการทุเลาลงเมื่อรับประทานยา อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญของการพบแพทย์ในทันที ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายคนพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ที่จะค้นพบสาเหตุของโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน เนื่องจากอาการได้ลุกลามไปแล้ว จนถึงขั้นไม่อาจรักษาได้ก็มี......อย่างลืมดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก....
โรคตาแดง
โรคตาแดง เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาวที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ adenovirus แล้วเกิดการติดเชื้อที่เยื่อตาขาวเรียกว่า Epidemic keratoconjunctivitis (EKC)
เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย รวดเร็ว และทำให้เกิดอาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน
พบมีการระบาดเป็นช่วงๆ มักเป็นในฤดูฝน
การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส การใช้ของร่วมกัน การไอ
หรือการหายใจรดกัน และมักเกิดการติดต่อกันในที่ชุมชน ในโรงเรียน
ที่ทำงาน สระว่ายน้ำ รวมทั้งห้างสรรพสินค้า
โดยหลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน
และเมื่อเกิดเป็นขึ้นมาแล้วจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตา เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน ก็จะลุกลามไปกับตาข้างหนึ่งระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อนคือตาดำอักเสบ โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการมัวลงทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้นในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเป็นอยู่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
• ตามัวลง
• ปวดตามากขึ้น
• กรอกตาแล้วปวด
• ไข้
• ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
• น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
• แพ้แสงอย่างมาก
การป้องกัน
โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดยการแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน ไม่พูด ไอ หรือจามรอผู้อื่น ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตาเพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนอีกตาข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะตาข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็นไปยังตาข้างปกติ
การรักษา
เนื่องจากโรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา ถ้ามีอาการเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์
ลักษณะของโรคตาแดงที่แพทย์ต้องดูแลเป็นพิเศษมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ ประการแรก ถ้าเยื่อตาขาวอักเสบมากเสียจนผิวของเยื่อตาขาวลอกออก บางครั้งเยื่อตาขาวของเปลือกตากับเยื่อตาขาวของลูกตาอาจจะกลายเป็นแผลเป็น ติดกันได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เพราะเนื้อมาประกบกันโดยที่ไม่มีหนังอยู่ตรงกลาง จึงอาจจะติดกันจนแยกไม่ออก ทำให้มีการระคายเคืองเรื้อรังได้
ประการต่อมา ในส่วนของกระจกตาดำ เพราะบางเชื้อเข้ากระจกตาดำทำให้คนไข้มองอะไรไม่ค่อยชัด สู้แสงไม่ได้ ทำงานลำบาก สุดท้าย คือ เรื่องของเปลือกตาที่บวมมาก มีน้ำตาไหลออกมาตลอดจนคนไข้กังวลมาก จึงต้องมีการดูอาการเป็นพิเศษ เพื่อรอให้หายไปเอง ด้วยการพูดคุยกับคนไข้ อธิบาย ให้เข้าใจให้สบายใจ จากนั้นจะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านเมื่ออาการทุเลาลง
อาการตาแดงนอกจากจะเกิดจากโรคตาแดง ซึ่งมีการระบาดกันอยู่บ่อยๆ แล้วยังอาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง คือทำให้มีการสูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบ ดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
ข้อปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่กำลังเป็นโรคตาแดง คือ การป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายจากตนเองไปสู่ผู้อื่น โดยผู้ที่มีอาการควรหยุดพักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ไม่ควรอยู่ในที่ชุมชน รวมทั้งใส่แว่นตากันแดด เป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
สำหรับการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้น อย่ากลัวหรือกังวลในการติดโรคมากจนเกินไป เพราะเชื้อมีระยะเวลาในการแพร่ เพียงแต่ระมัดระวังไม่จับ สัมผัส หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตา เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน ก็จะลุกลามไปกับตาข้างหนึ่งระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อนคือตาดำอักเสบ โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการมัวลงทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้นในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเป็นอยู่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
• ตามัวลง
• ปวดตามากขึ้น
• กรอกตาแล้วปวด
• ไข้
• ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
• น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
• แพ้แสงอย่างมาก
การป้องกัน
โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดยการแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน ไม่พูด ไอ หรือจามรอผู้อื่น ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตาเพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนอีกตาข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะตาข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็นไปยังตาข้างปกติ
การรักษา
เนื่องจากโรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา ถ้ามีอาการเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์
ลักษณะของโรคตาแดงที่แพทย์ต้องดูแลเป็นพิเศษมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ ประการแรก ถ้าเยื่อตาขาวอักเสบมากเสียจนผิวของเยื่อตาขาวลอกออก บางครั้งเยื่อตาขาวของเปลือกตากับเยื่อตาขาวของลูกตาอาจจะกลายเป็นแผลเป็น ติดกันได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เพราะเนื้อมาประกบกันโดยที่ไม่มีหนังอยู่ตรงกลาง จึงอาจจะติดกันจนแยกไม่ออก ทำให้มีการระคายเคืองเรื้อรังได้
ประการต่อมา ในส่วนของกระจกตาดำ เพราะบางเชื้อเข้ากระจกตาดำทำให้คนไข้มองอะไรไม่ค่อยชัด สู้แสงไม่ได้ ทำงานลำบาก สุดท้าย คือ เรื่องของเปลือกตาที่บวมมาก มีน้ำตาไหลออกมาตลอดจนคนไข้กังวลมาก จึงต้องมีการดูอาการเป็นพิเศษ เพื่อรอให้หายไปเอง ด้วยการพูดคุยกับคนไข้ อธิบาย ให้เข้าใจให้สบายใจ จากนั้นจะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านเมื่ออาการทุเลาลง
อาการตาแดงนอกจากจะเกิดจากโรคตาแดง ซึ่งมีการระบาดกันอยู่บ่อยๆ แล้วยังอาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง คือทำให้มีการสูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบ ดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
ข้อปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่กำลังเป็นโรคตาแดง คือ การป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายจากตนเองไปสู่ผู้อื่น โดยผู้ที่มีอาการควรหยุดพักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ไม่ควรอยู่ในที่ชุมชน รวมทั้งใส่แว่นตากันแดด เป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
สำหรับการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้น อย่ากลัวหรือกังวลในการติดโรคมากจนเกินไป เพราะเชื้อมีระยะเวลาในการแพร่ เพียงแต่ระมัดระวังไม่จับ สัมผัส หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
พิลาทีส
ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบพิลาทีส
ผู้ที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายแบบพิลาทีส
การออกกำลังกายแบบพิลาทีส ในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- ปรับความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจในการเคลื่อนไหว
- สร้างความแข็งแรง และเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ทำให้มีบุคลิกที่ดีและมีการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติอย่างสวยงาม
- เน้นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัว โดยจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแบนราบสวยงามและกล้ามเนื้อลำตัวที่แข็งแรงจะทำ ให้ความเสี่ยงต่อโรคปวดหลังลดน้อยลง
- กระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหว และท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน และหลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อที่ไม่จำเป็น
- มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามธรรมชาติและมีการกระแทกของข้อต่อน้อย
- ฟื้นฟูร่างกายหลังความเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายแบบพิลาทีส
- ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกเพศทุกวัย
- ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระชับสัดส่วนและหน้าท้อง
- ผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง จากกล้ามเนื้อลำตัวที่อ่อนแอและทำงานไม่สมดุลย์
- นักกีฬาที่ต้องการออกกำลังกายเฉพาะ ให้เหมาะสมกับกีฬาที่เล่นอยู่
- นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บที่ต้องการการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาฟื้นฟูด้านการเคลื่อนไหว
- ผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอที่ต้องการการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป
- การออกกำลังกายบนแมต โดยไม่ใช้อุปกรณ์หรือใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อย
- การใช้เครื่องมือเฉพาะทางพิลาทีส เช่น เครื่องรีฟอร์มเมอร์ คาดิแลค วุนดาแชร์ เป็นต้น
- พิลาทีสบนลูกฟิตบอล
- การใช้เทคนิคพิลาทีสร่วมกับการออกกำลังกายอื่น เช่น โยคะ ยกน้ำหนัก เต้นแอโรบิค ฯลฯ
การออกกำลังกายแบบพิลาทีส ในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- สถานที่เฉพาะเป็นส่วนตัวในการออกกำลังกายแบบพิลาทีส
- บุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกเทคนิคการออกกำลังกายแบบพิลาทีสมาโดยเฉพาะ จากสถาบันระดับสากล Physicalmind Institute
- อุปกรณ์พื้นฐานของพิลาทีสที่ทันสมัยและครบถ้วน ได้แก่ เครื่อง Reformer, Cadillac, Wunda chair และอุปกรณ์ทางแมต
- โปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีสฟื้นฟูในผู้ป่วย
- โปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีสสำหรับนักกีฬาและฟื้นฟูนักกีฬาที่บาดเจ็บ
- โปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีสเพื่อสุขภาพและความสวยงาม
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
อย่า! ยอมเป็นเหยื่อรายต่อไปของ...เบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีแนวโน้มไม่เพียงแต่จะพบมากขึ้นในคนไทย แต่ยังพบมากขึ้นในประชากรของแต่ละประเทศทั่วโลก
โรค เบาหวานจัดเป็นโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ รองจากหัวใจ และโรคมะเร็ง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลก และสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ จึงจัดงานวันเบาหวานโลกขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกฝ่ายหันกลับมาใส่ใจดูและสุขภาพก่อนที่โรคเบาหวาน ร้ายจะคร่าชีวิตคุณและคนที่คุณรัก...ตลอดไป
อาการต้องสงสัย
- ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก
- คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
- หิวบ่อย รับประทานอาหารมากแต่น้ำหนักลด อ่อนเพลียง่าย
- แผลหายช้า, มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย โดยเฉพาะเชื้อรา
- ชาปลายมือ ปลายเท้า, ตาพร่ามัว
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) ก่อนทานอาหารเช้า อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. หรือ “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน”
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือญาติ เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและ/หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- อ้วนลงพุง (รอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว สำหรับเพศหญิง, มากกว่า 36 นิ้ว สำหรับเพศชาย)
- มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (โดยเฉพาะชนิดเอชดีแอลต่ำ และไตรกลีเซอไรด์สูง)
- มีภาวะไขมันแทรกในตับ
- เคยเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเคยคอลดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
- รับประทานยาทางจิตเวชบางชนิด
โรค เบาหวานจัดเป็นโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ รองจากหัวใจ และโรคมะเร็ง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลก และสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ จึงจัดงานวันเบาหวานโลกขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกฝ่ายหันกลับมาใส่ใจดูและสุขภาพก่อนที่โรคเบาหวาน ร้ายจะคร่าชีวิตคุณและคนที่คุณรัก...ตลอดไป
อาการต้องสงสัย
- ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก
- คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
- หิวบ่อย รับประทานอาหารมากแต่น้ำหนักลด อ่อนเพลียง่าย
- แผลหายช้า, มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย โดยเฉพาะเชื้อรา
- ชาปลายมือ ปลายเท้า, ตาพร่ามัว
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) ก่อนทานอาหารเช้า อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. หรือ “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน”
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือญาติ เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและ/หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- อ้วนลงพุง (รอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว สำหรับเพศหญิง, มากกว่า 36 นิ้ว สำหรับเพศชาย)
- มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (โดยเฉพาะชนิดเอชดีแอลต่ำ และไตรกลีเซอไรด์สูง)
- มีภาวะไขมันแทรกในตับ
- เคยเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเคยคอลดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
- รับประทานยาทางจิตเวชบางชนิด
เลเซอร์ทางทันตกรรม
เลเซอร์ทางทันตกรรม คืออะไร
เป็นเทคโนโลยีล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้ตัวกลางหลายๆ ชนิด ได้แก่ เออร์เนียม, โครเมียม, ยิทเตรียม, สแกนเดียม, แกลเลียม, การ์เน็ท ( Erbium, Chromium, Yttrium, Scandium, Gallium, Garnet )
มารวมกันทำ ให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทางทันตกรรม โดยการปลดปล่อยพลังงานเลเซอร์ไปที่โมเลกุลของน้ำ ( Hydrokinetic System ) พลังงานดังกล่าว จะถูกนำมาใช้ในงานทันตกรรมต่างๆ ซึ่งไม่ส่งเสียงน่ารำคาญและไม่มีความร้อนหรือการสั่นสะเทือน
ประโยชน์ที่ได้จากเลเซอร์ทางทันตกรรม มีอะไรบ้าง?
ความร้อนและการสั่นสะเทือนจากการกรอฟันในวิธีแบบเดิมเป็นสาเหตุใหญ่ ในการก่อให้เกิดอาการเสียวฟันและกระทบกระเทือนประสาทฟันด้วยนวัตกรรมใหม่นี้ พลังงานเลเซอร์ที่ผ่านทางโมเลกุลของน้ำ จะทำการตัดเนื้อฟันโดยไม่ใช้การส่งผ่านความร้อน หรือการสั่นสะเทือน ดังนั้นการทำงานด้านทันตกรรมในหลายๆ กรณี เช่น การอุดฟัน การตัดเนื้อเยื่อ การตกแต่งกระดูก เป็นต้น สามารถทำได้โดยปราศจากการใช้ยาชาในการรักษาหรือใช้แต่เพียงเล็กน้อย
นอกจากนี้การใช้เลเซอร์ยังมีความอ่อนโยนต่อเหงือก ตลอดขั้นตอนการรักษาจะมีเลือดออกน้อยมากหรือไม่มีเลย ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจอย่างมาก อีกทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการรักษาด้วยเลเซอร์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อในช่องปาก
1. ลดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
2. ลดกรสูญเสียเลือดหรือไม่เสียเลือดเลย
3. ลดอาการเจ็บและบวม หลังการผ่าตัด
4. ใช้เวลาในการสมานแผลน้อยลง
5. ไม่ใช้ยาชาหรือใช้น้อยลง
เลเซอร์ทางทันตกรรม สามารถใช้สำหรับ?
- การรักษาคลองรากฟัน
- การกำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุออก
- การเตรียมเนื้อเยื้อฟันเพื่ออุดฟัน
- การตกแต่งเนื้อเยื้อในช่องปากและเหงือก
- การตกแต่งกระดูก
- รักษาแผลในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน
- การเปลี่ยนสีเหงือกจากสีคล้ำให้จางลง (Depigmentation)
- การฟอกสีฟัน
เลเซอร์ทางทันตกรรม : การรักษาที่ปลอดภัย
เลเซอร์เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัย ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นเทคโนโลยีล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้ตัวกลางหลายๆ ชนิด ได้แก่ เออร์เนียม, โครเมียม, ยิทเตรียม, สแกนเดียม, แกลเลียม, การ์เน็ท ( Erbium, Chromium, Yttrium, Scandium, Gallium, Garnet )
มารวมกันทำ ให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทางทันตกรรม โดยการปลดปล่อยพลังงานเลเซอร์ไปที่โมเลกุลของน้ำ ( Hydrokinetic System ) พลังงานดังกล่าว จะถูกนำมาใช้ในงานทันตกรรมต่างๆ ซึ่งไม่ส่งเสียงน่ารำคาญและไม่มีความร้อนหรือการสั่นสะเทือน
ประโยชน์ที่ได้จากเลเซอร์ทางทันตกรรม มีอะไรบ้าง?
ความร้อนและการสั่นสะเทือนจากการกรอฟันในวิธีแบบเดิมเป็นสาเหตุใหญ่ ในการก่อให้เกิดอาการเสียวฟันและกระทบกระเทือนประสาทฟันด้วยนวัตกรรมใหม่นี้ พลังงานเลเซอร์ที่ผ่านทางโมเลกุลของน้ำ จะทำการตัดเนื้อฟันโดยไม่ใช้การส่งผ่านความร้อน หรือการสั่นสะเทือน ดังนั้นการทำงานด้านทันตกรรมในหลายๆ กรณี เช่น การอุดฟัน การตัดเนื้อเยื่อ การตกแต่งกระดูก เป็นต้น สามารถทำได้โดยปราศจากการใช้ยาชาในการรักษาหรือใช้แต่เพียงเล็กน้อย
นอกจากนี้การใช้เลเซอร์ยังมีความอ่อนโยนต่อเหงือก ตลอดขั้นตอนการรักษาจะมีเลือดออกน้อยมากหรือไม่มีเลย ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจอย่างมาก อีกทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการรักษาด้วยเลเซอร์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อในช่องปาก
1. ลดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
2. ลดกรสูญเสียเลือดหรือไม่เสียเลือดเลย
3. ลดอาการเจ็บและบวม หลังการผ่าตัด
4. ใช้เวลาในการสมานแผลน้อยลง
5. ไม่ใช้ยาชาหรือใช้น้อยลง
เลเซอร์ทางทันตกรรม สามารถใช้สำหรับ?
- การรักษาคลองรากฟัน
- การกำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุออก
- การเตรียมเนื้อเยื้อฟันเพื่ออุดฟัน
- การตกแต่งเนื้อเยื้อในช่องปากและเหงือก
- การตกแต่งกระดูก
- รักษาแผลในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน
- การเปลี่ยนสีเหงือกจากสีคล้ำให้จางลง (Depigmentation)
- การฟอกสีฟัน
เลเซอร์ทางทันตกรรม : การรักษาที่ปลอดภัย
เลเซอร์เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัย ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา
รากเทียมคืออะไร
รากเทียมเป็นวัสดุที่ทำด้วยโลหะไทเทเนียม รู้ร่างลักษระคล้ายรากฟันธรรมชาติ...
ใช้ฝังในกระดูกขากรรไกรเพื่อเป็นหลักยึดของฟันปลอม ส่วนประกอบของรากเทียม
: ; แกนยึดฟันปลอม(abutment)
: : ฟันปลอม(prosthesis)
: : รากเทียม(implant)
ขั้น ตอนการรักษา ทำผ่าตัดฝังรากเทียมในกระดูกขากรรไกร แล้วรอให้มีการยึดติดระหว่างรากเทียมกับกระดูก ใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนสำหรับฟันล่าง และ 6-8 เดือนสำหรับฟันบน หลังจากนั้นจึงพิมพ์ปากทำฟันปลอม
ข้อดีของการทำรากเทียม รากเทียมสามารถใช้งาน มีความสวยงามและความคงทนถาวรเหมือนฟันธรรมชาติ ลดส่วนประกอบที่ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ดีกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆ
ข้อจำกัดการทำรากเทียม การทำรากเทียมมีขั้นตอนของการผ่าตัด เพราะฉะนั้นคนไข้ที่จะทำต้องมีกระดูกขากรรไกรที่เหมาะสม และไม่มีโรคทางระบบเช่น โรคเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
การทำรากเทียมแบบต่าง ๆ
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหน้าบน 1 ซี่
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหลังล่างขวา 2 ซี่
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหน้าบน 4 ซี่ เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอมบนทั้งปาก
ใช้ฝังในกระดูกขากรรไกรเพื่อเป็นหลักยึดของฟันปลอม ส่วนประกอบของรากเทียม
: ; แกนยึดฟันปลอม(abutment)
: : ฟันปลอม(prosthesis)
: : รากเทียม(implant)
ขั้น ตอนการรักษา ทำผ่าตัดฝังรากเทียมในกระดูกขากรรไกร แล้วรอให้มีการยึดติดระหว่างรากเทียมกับกระดูก ใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนสำหรับฟันล่าง และ 6-8 เดือนสำหรับฟันบน หลังจากนั้นจึงพิมพ์ปากทำฟันปลอม
ข้อดีของการทำรากเทียม รากเทียมสามารถใช้งาน มีความสวยงามและความคงทนถาวรเหมือนฟันธรรมชาติ ลดส่วนประกอบที่ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ดีกว่าฟันปลอมชนิดอื่นๆ
ข้อจำกัดการทำรากเทียม การทำรากเทียมมีขั้นตอนของการผ่าตัด เพราะฉะนั้นคนไข้ที่จะทำต้องมีกระดูกขากรรไกรที่เหมาะสม และไม่มีโรคทางระบบเช่น โรคเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
การทำรากเทียมแบบต่าง ๆ
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหน้าบน 1 ซี่
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหลังล่างขวา 2 ซี่
- ใส่รากเทียมบริเวณฟันหน้าบน 4 ซี่ เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอมบนทั้งปาก
กลิ่นปาก
กลิ่นปาก
กลิ่นปาก หรือลมหายใจไม่สะอาด หากเกิดขึ้นกับใครก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อการเข้าสังคมและสูญเสียความมั่นใจ
สาเหตุของกลิ่นปาก อาจเกิดจาก
- แผ่นคราบฟันและหินปูนที่อยู่รอบๆ ฟัน
- เศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามซอกฟัน บริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก หรือในรูฟันผุ
- เหงือกเป็นหนองจากโรคปริทัศน์ มีฟันโยก
- อาหารบางชนิด เมื่อรับประทานจะมีกลิ่นขับออกมาทางลมหายใจ เช่น หัวหอม กระเทียม ทุเรียน เป็นต้น การดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ล้วนทำให้เกิดกลิ่นปากได้ทั้งสิ้น
- สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้ มักจะเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เช่น โรคกระเพาะอาหารหรืออาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ไข้หวัด วัณโรค โรคฝีในปอดและหลอดลม เป็นต้น
การ ป้องกันและกำจัดกลิ่นปาก สามารถป้องกันได้อย่างง่ายๆ ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงลิ้นใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ หมั่นตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตแพทย์ เพื่อขูดหินปูนและอุดฟันทุก 6 เดือน
การแก้ไขกลิ่นปาก เนื่องจากสาเหตุของความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือระบบทางเดินหายใจ จำเป็นต้องรับการรักษาทางร่างกาย และดูแลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสมบรูณ์อยู่เสมอ ไม่ควรมองข้ามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแม้จะรู้สึกว่าเป็นอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อร่างกายได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นอันว่าตัดปัญหาเรื่องกลิ่นปากที่เกิดจากสุขภาพร่างกายออกไปได้เมื่อ แก้ไขปัญหาต่างๆ จนหมดไปแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนเองมีกลิ่นปากอยู่เป็นประจำก็ต้องหันมาให้ความสนใจกับชีวิตประจำวันของตน เองว่า ปกติชอบรับประทานอาหารประเภทใดมากที่สุด และอาหารที่รับประทานเป็นประจำนั้นมีผลให้เกิดกลิ่นปากหรือไม่
กลิ่นปาก หรือลมหายใจไม่สะอาด หากเกิดขึ้นกับใครก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อการเข้าสังคมและสูญเสียความมั่นใจ
สาเหตุของกลิ่นปาก อาจเกิดจาก
- แผ่นคราบฟันและหินปูนที่อยู่รอบๆ ฟัน
- เศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามซอกฟัน บริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก หรือในรูฟันผุ
- เหงือกเป็นหนองจากโรคปริทัศน์ มีฟันโยก
- อาหารบางชนิด เมื่อรับประทานจะมีกลิ่นขับออกมาทางลมหายใจ เช่น หัวหอม กระเทียม ทุเรียน เป็นต้น การดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ล้วนทำให้เกิดกลิ่นปากได้ทั้งสิ้น
- สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้ มักจะเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เช่น โรคกระเพาะอาหารหรืออาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ไข้หวัด วัณโรค โรคฝีในปอดและหลอดลม เป็นต้น
การ ป้องกันและกำจัดกลิ่นปาก สามารถป้องกันได้อย่างง่ายๆ ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงลิ้นใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ หมั่นตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตแพทย์ เพื่อขูดหินปูนและอุดฟันทุก 6 เดือน
การแก้ไขกลิ่นปาก เนื่องจากสาเหตุของความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือระบบทางเดินหายใจ จำเป็นต้องรับการรักษาทางร่างกาย และดูแลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสมบรูณ์อยู่เสมอ ไม่ควรมองข้ามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นแม้จะรู้สึกว่าเป็นอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อร่างกายได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นอันว่าตัดปัญหาเรื่องกลิ่นปากที่เกิดจากสุขภาพร่างกายออกไปได้เมื่อ แก้ไขปัญหาต่างๆ จนหมดไปแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนเองมีกลิ่นปากอยู่เป็นประจำก็ต้องหันมาให้ความสนใจกับชีวิตประจำวันของตน เองว่า ปกติชอบรับประทานอาหารประเภทใดมากที่สุด และอาหารที่รับประทานเป็นประจำนั้นมีผลให้เกิดกลิ่นปากหรือไม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)